ภาวะเปลือกตาตกจากผ่าตัดทำตาสองชั้น

วันนี้หมอจะมาแชร์เคสให้เรียนรู้กันค่ะ (ได้รับอนุญาตจากคนไข้แล้ว ต้องขอขอบคุณคนไข้มา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ ที่ให้หมอเขียนเล่าประวัติและใช้รูปได้) คนไข้ท่านนี้ถูกส่งมาหาหมอด้วยภาวะเปลือกตาตก (ศัพท์บัญญัติของทางราชวิทยาลัยจักษุฯ) หรือที่ภาษาหมอๆเรียกกันว่า ptosis เพื่อรักษาต่อค่ะ ต้องเท้าความก่อนค่ะ ว่าคนไข้รายนี้เคยทำศัลยกรรมเสริมสวยตาสองชั้นมาจากคลินิกอื่นเมื่อหลายปีก่อน ก่อนทำผ่าตัดคนไข้เป็นคนมีตาสองชั้นเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว แต่เปลือกตาจะอูมๆเล็กน้อยจากไขมัน แต่หลังทำตาสองชั้นไป คนไข้ก็มีเปลือกตาตก หรือตาปรือดังรูปบนค่ะ คุณหมอที่ผ่าตัดไปบอกว่าคนไข้เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง และส่งไปรักษาด้วยการทานยา Mestinon ซึ่งเป็นยาที่ใช้รักษาโรค Myasthenia gravis หรือโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง แต่เปลือกตาที่ตกก็ยังไม่ดีขึ้น (โดยปรกติแล้วมักจะดีขึ้นถ้าเป็นโรคค่ะ) แถมคนไข้ก็ทนผลข้างเคียงของยาไม่ได้ มีอาการซึมเศร้า สูญเสียความมั่นใจจากรูปลักษณ์ที่เปลี่ยนไป สุดท้ายก็เลยไปหาคุณหมอเฉพาะทางอีกท่านด้านประสาทจักษุ เพื่อตรวจเพิ่มเติม (ทั้งเจาะเลือด ตรวจกล้ามเนื้อ) สุดท้าย คุณหมอท่านนี้ก็ลงความเห็นว่าไม่น่าจะภาวะเปลือกตาตกจากกล้ามเนื้ออ่อนแรง แต่น่าจะเป็นจากที่เคยทำผ่าตัดตาสองชั้นมาก่อน ผ่าตัดตาสองชั้น ทำให้เกิดภาวะเปลือกตาตกได้อย่างไร? การผ่าตัดทำตาสองชั้น ถ้าเกิดตัดไขมันออกมากเกินและเย็บชั้นตาสูงกว่าธรรมชาติมาก สามารถทำให้เกิดพังผืดยึดเกาะที่กล้ามเนื้อตาที่ใช้ลืมตาได้ ทำให้รู้สึกตาปรือ ลืมตาไม่ขึ้น และเกิดภาวะเปลือกตาตกได้ ภาวะเปลือกตาตกคืออะไร? ภาวะเปลือกตาตก หรือ (blepharo)ptosis นั้นคือภาวะที่เปลือกตาบนตกลงมาคลุมตาดำมากกว่าปรกติ โดยในคนปรกติแล้ว ตำแหน่งของขอบเปลือกตาบนมักจะอยู่ใต้ต่อขอบบนของตาดำประมาณ 1-2 มม. ถ้าเปลือกตาบนตกลงมาคลุมตาดำมากกว่านั้นContinue reading “ภาวะเปลือกตาตกจากผ่าตัดทำตาสองชั้น”

อาการน้ำตาไหลจากท่อน้ำตาอุดตัน (nasolacrimal duct obstruction)

ท่อระบายน้ำตาของคนเราอยู่ บริเวณหัวตาและต่อเข้าไปในจมูก โดยปกติคนเราจะสร้างน้ำตาบริเวณต่อมน้ำตา (lacrimal gland) และน้ำตานั้นจะถูกระบายผ่านท่อระบายน้ำตา (nasolacrimal duct) ไหลลงมาที่โพรงจมูกและคอหอยจึงทำให้เราไม่มีน้ำตาไหลตลอดเวลา แต่ถ้าท่อระบายของน้ำตาเราอุดตันก็จะทำให้เรามีอาการน้ำตาไหลต้องคอยซับบ่อยๆทั้งวันได้ และถ้าในกรณีที่เป็นมากหรือว่าท่อน้ำตาตันสมบูรณ์ก็มีโอกาสทำให้เชื้อแบคทีเรียเข้าไปโตในถุงน้ำตา (lacrimal sac) บริเวณหัวตาและทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อได้ บางคนจะพบอาการถุงน้ำตาอักเสบแดงมีหนองไหลออกมาจากบริเวณหัวตา (dacryocystitis) ดังรูปด้านล่าง การตรวจประเมินท่อน้ำตาอุดตัน สามารถทำได้โดยใช้น้ำใส่ในเข็มฉีดยาต่อกับเข็มปลายทู่เล็กๆ (blunt tipped cannula) สอดเข้าไปที่รูเปิดของท่อระบายน้ำตาบริเวณหัวตา (punctum) และฉีดน้ำผ่านลงไป ถ้าท่อน้ำตาระบายได้ปกติ จะรู้สึกถึงน้ำที่ไหลลงในจมูกและคอ แต่ถ้าท่อน้ำตาอุดตันจะไม่รู้สึกว่ามีน้ำไหลลงคอเลย และน้ำจะเอ่อมาบริเวณลูกตาแทน ในกรณีที่เป็นเด็กเล็ก อาจใช้สีย้อมกระจกตา (fluorescein) ป้ายที่ตาและดูว่าสีนั้นลดปริมาณลงไปในเวลาประมาณ 5 นาทีหรือไม่ ถ้าในกรณีท่อน้ำตาปรกติ สีจะหายไปเกือบหมด แต่ถ้าท่อน้ำตาอุดตัน จะพบสีบริเวณตามากกว่าอีกข้าง (dye disappearance test) สาเหตุของท่อระบายน้ำตาอุดตันส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับอายุ ถ้าเป็นในเด็กตั้งแต่แรกเกิดมักจะพบว่ารูเปิดของท่อระบายน้ำตาลในจมูกนั้นมีพังผืดมาปิดกั้น การรักษาก็อาจจะทำได้ตั้งแต่การนวดบริเวณหัวตาเพื่อดันให้น้ำตาไหลลงรูและดันเยื่อที่ปิดเอาไว้ให้เปิดออก หรือในกรณีที่เด็กโตกว่า 1 ขวบก็อาจจะใช้เป็นแท่งเหล็กเล็กๆแยงผ่านท่อน้ำตาให้เยื่อปิดไว้เปิดออกได้ (ทำภายใต้การดมยาสลบ) หรือในกรณีที่ต้องถ่างท่อน้ำตาให้ขยายใหญ่ขึ้น อาจใส่เป็น lacrimal stent ซึ่งคือท่อซิลิโคนเล็กๆลักษณะคล้ายๆเส้นวุ้นเส้นเอาไว้ในท่อน้ำตาและนำออกภายหลัง ดังรูปด้านล่างContinue reading “อาการน้ำตาไหลจากท่อน้ำตาอุดตัน (nasolacrimal duct obstruction)”

โรคไทรอยด์ขึ้นตา (Thyroid Eye Disease)

โรคไทรอยด์เป็นพิษ อาจส่งผลให้มีอาการทางตาได้ ไม่ว่าจะเป็นตาโปน ตาเข ตาแดง ตาแห้ง หรือหลับตาไม่สนิท และอาการเหล่านี้มักส่งผลกับคุณภาพชีวิต เราจะมาทำความรู้จักเกี่ยวกับโรคนี้และวิธีรักษากันนะคะ เพราะโรคนี้เป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อยของอาการตาโปน สาเหตุของโรคไทรอยด์ขึ้นตา เกิดจากการที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันตัวเอง (แอนตี้บอดี้) ขึ้นมา ซึ่งโปรตีนเหล่านี้ผลิตโดยเม็ดเลือดขาวในกระแสเลือดและไปต่อสู้กับเนื้อเยื่อปรกติของร่างกายเรา ในกรณีของไทรอยด์เป็นพิษ แอนตี้บอดี้นี้จะไปกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนออกมามากผิดปรกติ ทำให้มีอาการใจสั่น น้ำหนักลด เหนื่อยง่าย ผมร่วง เป็นต้น ซึ่งแอนตี้บอดี้เหล่านี้ก็อาจไปส่งผลกับเนื้อเยื่อต่างๆไม่ว่าจะเป็นไขมันหรือกล้ามเนื้อที่อยู่รอบๆดวงตา ทำให้ไขมันและกล้ามเนื้อบวมอักเสบ (ดังรูป) ทั้งนี้ในบางรายที่เป็นโรคไทรอยด์ขึ้นตานั้น อาจไม่มีอาการของไทรอยด์เป็นพิษร่วมด้วย หรือผลค่าฮอร์โมนปรกติก็ได้ แต่มีค่าแอนตี้บอดี้ที่สูงผิดปรกติแทน อาการของโรคไทรอยด์ขึ้นตา เนื่องจากเนื้อเยื่อบริเวณเบ้าตาเกิดการอักเสบ บวมแดงร้อน ไขมันและกล้ามเนื้อตาที่บวมจะดันลูกตาออก ทำให้มีอาการตาโปน ตาแดง ปวดเบ้าตา เปลือกตาเลิก มีผลให้หลับตาไม่สนิท ตาแห้ง อาจกลอกตาไม่สุดและมีตาเข ทำให้เห็นภาพซ้อน และถ้ารุนแรงมากๆ อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ จากการที่เส้นประสาทตาถูกกล้ามเนื้อกดทับ ซึ่งจะสังเกตได้จากค่าสายตาที่มัวลง ลานสายตาที่แคบลง และการมองเห็นสีที่สูญเสียไป อาการอักเสบเหล่านี้มักจะเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นๆลงๆ บางวันบวมมาก บางวันบวมน้อย ในช่วง 1-2 ปีแรก เรียกว่า activeContinue reading “โรคไทรอยด์ขึ้นตา (Thyroid Eye Disease)”

ข้อพึงปฏิบัติ ก่อนการผ่าตัดเปลือกตา เบ้าตา หรือท่อน้ำตา

ผู้ป่วยที่รับประทานยาละลายลิ่มเลือด เช่น แอสไพริน ควรหยุดอย่างน้อย 7 วันก่อนผ่าหรือตามคำแนะนำของแพทย์ ถ้ามีรับประทานอาหารเสริมหรือวิตามิน ควรหยุดกินก่อนผ่าตัดประมาณ 2 อาทิตย์ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเลือดออกและบวมช้ำมากหลังผ่าตัด รายการของสิ่งที่ควรหยุดรับประทานก่อนผ่าตัด อาหารประเภทที่มีกรดไขมันชนิดอิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันคานูล่า (canola oil) หรือน้ามันดอกคำฝอย (safflower oil) หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนของกรดไขมันที่สูงเช่น น้ำมันปลา Cod liver oil, Evening primrose oil หรือ Flax seed oil 2. วิตามินโดยเฉพาะวิตามินรวม, วิตามิน C และ วิตามิน E 3. อาหารเสริม สมุนไพร โดยเฉพาะในรายการด้านล่างมะขามป้อม (gooseberry)ต่านเซิน (Danshen)ตังกุย (Dong quai)กระเทียม (Garlic)แป๊ะก๊วย (Ginkgo)โสม (Ginseng)ขิง (Ginger)เทียนข้าวเปลือก (Aniseed, Fennel seed)มหาหิงคุ์ (Asafetida)พริกContinue reading “ข้อพึงปฏิบัติ ก่อนการผ่าตัดเปลือกตา เบ้าตา หรือท่อน้ำตา”

Aging eyelids: อายุกับปัญหาเปลือกตา

เคยสังเกตหรือไม่ว่า เมื่อคนเราอายุมากขึ้นริ้วรอยและความหย่อนคล้อยเริ่มมาเยือน หนังตาที่เคยเต่งตึงก็มักตกย้อย จากเดิมที่เคยตากลมโตก็จะดูตาเล็กลงไม่สวยงาม หรือรู้สึกว่าเปลือกตาดูเหมือน ปรือๆง่วงๆ กว่าที่เคยเป็น สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น กายวิภาคของเปลือกตาและใบหน้ามีการเปลี่ยนแปลงตามอายุที่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นส่วนของผิวหนังที่บางลง ทำให้หย่อนคล้อยมีริ้วรอยเพิ่มขึ้น รวมถึงเนื้อเยื่อส่วนที่ลึกลงไป ไม่ว่าจะเป็นชั้นไขมัน กล้ามเนื้อหรือเอ็นที่หย่อนคล้อยลงมามากขึ้นตามแรงโน้มถ่วง สำหรับบริเวณรอบๆดวงตา สิ่งที่พบบ่อยก็คือเรื่องของเปลือกตาบนและคิ้วที่หย่อนและ/หรือตก รวมถึงถุงใต้ตาที่เห็นได้ชัดเจนขึ้น มาทำความรู้จักกับปัญหาของเปลือกตาที่เกิดจากอายุที่เพิ่มขึ้นกันดีกว่า สำหรับเปลือกตาบน ปัญหาที่พบบ่อย แบ่งเป็น 3 ภาวะหลักคือ เปลือกตาหรือหนังตาหย่อน (dermatochalasis) เปลือกตาตก (blepharoptosis/ eyelid ptosis) คิ้วตก (brow ptosis) ภาวะเปลือกตาหย่อน หรือ หนังตาหย่อน (dermatochalasis) เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ พบบ่อยคือ เกิดในผู้สูงอายุ เนื่องจากหนังตามีความยืดหยุ่นตามอายุที่มากขึ้น ทำให้หนังตาสามารถหย่อนคล้อยลงมาได้ ส่วนบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่ผู้สูงอายุ มีส่วนเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมหรือชาติพันธุ์ เช่น ในคนเอเชียที่มีตาชั้นเดียว และมีการสะสมของไขมันใต้ชั้นหนังตามาก ทำให้ชั้นหนังตาห้อยลงมาต่ำกว่าระดับขนตา และโดยเฉพาะในผู้สูงอายุอาจพบภาวะเปลือกตาตก (blepharoptosis) และคิ้วตก (brow ptosis) ร่วมด้วยได้ ซึ่งต้องแยกสาเหตุเพราะวิธีการรักษานั้นแตกต่างกัน อาการของภาวะหนังตาหย่อน สำหรับอาการของภาวะหนังหย่อนContinue reading “Aging eyelids: อายุกับปัญหาเปลือกตา”

คำแนะนำ การดูแลหลังผ่าตัดเปลือกตา และศัลยกรรมรอบดวงตา

การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดเปลือกตา หลังผ่าตัด 24-72 ชั่วโมงแรก ควรประคบเย็นบริเวณแผล โดยประคบแต่ละครั้งนานประมาณ 15-20 นาที ให้บ่อยที่สุดเท่าที่ทำได้ เพื่อช่วยยุบบวมและหยุดเลือด ถ้ามีเลือดซึมสามารถใช้ผ้าก๊อซหรือทิชชูสะอาดกดที่แผล ไม่ต้องแรง จนกว่าเลือดจะหยุดซึม ห้ามแผลโดนน้ำอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้แผลติดเชื้อได้ หากแผลเปียกให้ รีบเช็ดให้แห้งแล้วแต้มยา ควรทำสะอาดใบหน้าโดยใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดเช็ดแทน การล้างหน้า ป้ายยาขี้ผึ้งฆ่าเชื้อที่แผลบางๆ วันละ 2-3 ครั้ง ในสองคืนแรกควรนอนศีรษะสูงกว่าปกติ (เช่นใช้หมอน 2 ใบ หนุนตั้งแต่ช่วงไหล่ขึ้นไป) เพื่อช่วยลดอาการบวม สามารถเดินหรือทำงานที่ไม่ออกแรงได้ตามปกติ แต่ให้หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ ทำให้เหงื่อออกมาก เช่น ออกกำลัง ยกของหนัก การทำอาหารที่โดนความ ร้อนหรือควัน ไม่ควรขยี้ตา กระเทือนแผล หรือออกแรงเบ่ง เพราะอาจทำให้เลือดออกซ้ำ ใส่แว่นตากันแดด ระวังลมฝุ่น สิ่งสกปรก เวลาออกไปข้างนอก หลังผ่าตัดประมาณ 1 สัปดาห์แพทย์จะนัดมาทำการตัดไหม หลังจากตัดไหมแล้วสามารถแต่งหน้ารอบๆดวงตาได้ เพื่อปกปิดรอยช้ำ แต่ควรหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางบริเวณเปลือกตาเป็นเวลา 3-4 สัปดาห์ สิ่งที่พึงทราบเกี่ยวกับอาการหลังผ่าตัด ผู้ป่วยจะมีอาการบวมและเขียวช้ำบริเวณที่ผ่าตัดประมาณContinue reading “คำแนะนำ การดูแลหลังผ่าตัดเปลือกตา และศัลยกรรมรอบดวงตา”

แพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมเปลือกตา (eyelid surgeon)

แพทย์เฉพาะทางด้านไหนที่ได้รับการฝึกอบรมมาทางด้านการทำผ่าตัดเปลือกตาบ้าง? เส้นทางก่อนจะมาเป็นจักษุแพทย์เฉพาะทางสาขาศัลยกรรมจักษุตกแต่งและเสริมสร้าง ผศ.พญ.พิมพ์ขวัญ จบการศึกษาและฝึกอบรมด้านแพทยศาสตร์จากที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยสรุปดังนี้ มัธยมศึกษาตอนปลายรร. เตรียมอุดมศึกษา (สอบชิงทุนและเป็นนักเรียน 1 ใน 9 คนที่ได้รับพระราชทานทุนเล่าเรียนหลวงตอน ม. 6 ไปศึกษาต่อต่างประเทศ) Boarding school Grade 12Choate Rosemary Hall ที่เมือง Wallingford รัฐ Connecticut, USA เป็นเวลา 1 ปี ปริญญาตรีHarvard College (มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด) ณ เมือง Cambridge รัฐ Massachusetts, USAโดยเรียนจบสาขา Biochemical Sciences เกียรตินิยม Magna Cum Laude และจบ minor ด้าน health policy และภาษาจีน (Chinese language citation) ใช้เวลารวมทั้งหมด 4Continue reading “แพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมเปลือกตา (eyelid surgeon)”